ยินดีต้อนรับ

**WELCOME TO MY BLOG!**

7/26/2554

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชันวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีบทนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 (http://dontong52.blogspot.com) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีบทนี้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์สัน
1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
         1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
         2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
         3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
         4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
         5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
2. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
        1) มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
        2) มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
        3) มุขภาพจิตดีขึ้น
3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
        1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
       2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
       3) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร
 

ศน.หลักสูตรและการสอน(http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีบทนี้ว่า การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
               
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning) คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
อ้างอิง
แหล่งที่มา : http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486.เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554
แหล่งที่มา : http://dontong52.blogspot.com.เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554
แหล่งที่มา : http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7.เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น