ยินดีต้อนรับ

**WELCOME TO MY BLOG!**

7/28/2554

8. แนวคิดในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

           ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน การศึกษาหาความรู้  ฯลฯ สำหรับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษานั้นจะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ การนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนก็ควรวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

บทเรียนสำเร็จรูป
เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์  ชันมัธยมศึกษาปีที่ 3
แนวคิดในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป
1.   ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว
2.   ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ และทุกเวลา
3.   ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตรงตามความต้องการและความสามารถของตน
4.    ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้จากสื่อต่างๆ
5.    การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะสอนให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น และช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสิทธิภาพทางการเรียนให้แก่ผู้เรียน


7/27/2554

7.รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

กิดานันท์ มลิทอง (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
                 การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ผู้เรียน

(http://www.edtechno.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-adaptive-hypermedia-&catid=1: S&Itemid=53) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลใน ลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหา เรื่องราวในลักษณะต่างๆ ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
1.รูปแบบหลัก (Domain model -DM)
เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้แก่ผู้เรียน โดยรูปแบบหลัก (DM) เปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็น เนื้อหา ประวัติหรือแฟ้มข้อมูลของผู้เรียน และรูปแบบการนำเสนอข้อมูล เป็นต้น โดยรูปแบบหลัก จะเป็นการออกแบบโครงสร้างของข้อมูลที่นำเสนอที่มีความสัมพันธ์ของการออกแบบหัวข้อ (Topics) เนื้อหา (Content) และหน้าต่างๆ (Pages) กับการเชื่อมโยงลิงค์ในการนำทาง (Navigation Links) โดยในส่วนของระบบจะประกอบด้วยกลุ่มของโหนด (Node) หรือหน้า (page) ซึ่งเชื่อมต่อ กัน โดยแต่ละโหนดหรือหน้าจะ บรรจุข้อมูลเนื้อหาซึ่งอาจมีเฉพาะข้อความหรือมีภาพและเสียงประกอบด้วย เป็นต้น ทั้งนี้รูปแบบหลัก (DM) จะให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงสร้างของสื่อหลายมิติที่ เหมาะสมกับความต้องการและลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นหาข้อมูลหรือหัวข้อที่ต้องการ โดยการออกแบบที่ดีควรจะต้องวางโครงสร้างให้มีความสมดุล มีการเชื่อมต่อสัมพันธ์กันระหว่างรายการ (Menu) กับหน้าเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอ
1.1 แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) เป็นแบบที่ไม่มีโครงสร้างความรู้ ผู้เรียนต้องเปิดเข้าไปโดยมีการเชื่อมโยงระหว่างหน้าจอแต่ละเรื่อง มีความยืดหยุ่นสูงสุดของการจัดรวบรวม เป็นการให้ผู้เรียนได้กำหนดความก้าวหน้าและตอบสนองความสำเร็จด้วยตนเอง 
1.2 แบบเป็นลำดับขั้น ( Hierarchical) เป็นการกำหนดการจัดเก็บความรู้เป็นลำดับขั้น มีโครงสร้างเป็นลำดับขั้นแบบต้นไม้ โดยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าไปทีละขั้นได้ทั้งจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน โดยมีระบบข้อมูลและรายการคอยบอก
1.3 แบบเครือข่าย (Network) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจุดร่วมของฐานความรู้ต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ความซับซ้อนของเครือข่ายพึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างจุด
2. รูปแบบผู้เรียน (Student model -SM)
เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว โดยรูปแบบของผู้เรียนอาจแบ่งแยกคุณลักษณะของผู้เรียนออกเป็น ระดับความรู้ความสามารถ รูปแบบการเรียนรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลอ้างอิงของผู้เรียนต่างๆ รวมทั้งการวิเคราะห์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา
4.รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model - AM)
                เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก (Domain Model) และรูปแบบของผู้เรียน (User Model) โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในสื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ เช่น ภาษา Java หรือ Javascript , XML , SCORM โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็บเป็นฐาน (Web-Based Instruction) หรือระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System-LMS) ภายใต้สภาพแวดล้อมเสมือน (Learning environment)

(http://images.minint.multiply.multiplycontent.com) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า สื่อหลายมิติ คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
รูปแบบของสื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน
จากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่าง ๆ แล้วในปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์  เมืองแกรนด์ แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.. 1990 เป็นต้นมา โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้  Hypercard  และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการบันทึกข้อมูลเช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย  ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี รอมด้วย  เนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย ปุ่มเพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ นอกจากนี้ ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น ToolBook และ AuthorWare  ด้วย
สรุป
สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
อ้างอิง
กิดานันท์  มลิทอง(๒๕๔๐). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. ชวนพิมพ์; กรุงเทพฯ
แหล่งที่มา: http://edtechno.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-adaptive-hypermedia-&catid=1: S&Itemid=53. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554
แหล่งที่มา: http://images.minint.multiply.multiplycontent.com. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554

6. สื่อการสอน

วาสนา  ชาวหา (2525: 15) กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เครื่องมือประเภทนี้จะเป็นพียงตัวกลาง
หรือทางผ่านของความรู้ และต้องอาศัยวัสดุ ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ในรูป
แบบต่างๆ สื่อการสอนชนิดนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นภาพ และได้ยินเสียง
เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
2. ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพ เสียง หรืออักษร
ในรูปแบบต่างๆ และวัสดุการเรียนการสอนประเภทนี้จำแนกออกเป็น 2
ประเภท คือ
- วัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวหรือ
ความรู้ออกมาสู่ผู้เรียน เช่น ฟิล์มต่างๆ จานเสียง เป็นต้น
- วัสดุที่สามารถเสนอเรื่องราวได้ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆในการเสนอเรื่องราว เช่น หนังสือเรียน หรือตำราเรียน เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ในการเรียนการสอนบางครั้งต้องอาศัย
เทคนิคหรือวิธีการเพื่อให้เกิดการการเรียนรู้ เช่น การสาธิต การแสดง
ละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534, 42) กล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ช่วยกระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู้เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งวิธีสอนและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ
            ประเภทของสื่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. สื่อประเภทโสต-วัสดุ แบ่งออกเป็น 6 จำพวก ได้แก่
                - รูปภาพ เช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ เป็นต้น
                - วัสดุลายเส้น เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ แผนที่ ลูกโลก 
                   ภาพโฆษณา เป็นต้น
                - วัสดุสามมิติ เช่น ของจริง หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง ของล้อ
                   แบบหุ่นมือ
                - วัสดุประกอบการทดลอง เช่น ตัวยาและสื่อราคาเยาที่ใช้ในการ
                   ทดลอง
2. สื่อประเภทโสต-ทัศนอุปกรณ์ แบ่งออกเป็น 2 จำพวก ได้แก่
                - เครื่องฉายและเครื่องเสียง ประกอบด้วยตัวเครื่อง                
                  (Hardware) เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง
                  เป็นต้น และวัสดุที่ใช้กับเครื่อง (Software) เช่น สไลด์ แผ่น
                  เสียง ฟิล์มสตริฟ เป็นต้น
                - เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือวัด เครื่องมือตรวจ เครื่องมือแสดง
                  และเครื่องมือทดลองประเภทต่างๆ
3. สื่อประเภทเทคนิควิธีการ แบ่งออกเป็น 2 จำพวก ได้แก่
                - จำพวกกิจกรรม ได้แก่ การทดลอง การแสดงบทบาท การ
                   ทัศนาจร การสาธิต นิทรรศการ และกิจกรรมในรูปแบบอื่นๆ
                - จำพวกบทเรียนแบบโปรแกรม ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป เครื่อง
                  มือช่วยสอน ชุดการสอน  และการสอนรูปแบบอื่นๆ
             ซัลมา เอี่ยมฤทธิ์(http://www.learners.in.th/blog/whiteorcid2/300337) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. สื่อเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อาจแบ่งได้ดังนี้
1.1 สื่อเพื่อฝึกการรับรู้
- สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับขนาด ได้แก่ การจัดหาวัสดุสิ่งของ กล่อง บล็อก วางให้เด็กจับต้อง วางซ้อนกัน นำของสองสิ่ง สามสิ่งมาเปรียบเทียบขนาด เล็กใหญ่ เล็กที่สุด ใหญ่ที่สุด
- สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ครูให้เด็กเล่นภาพตัดต่อ ลองวางชิ้นส่วนให้พอดีกับช่อง เช่น ช่องวงกลม เด็กต้องหยิบรูปวงกลมวางลงในช่องสี่เหลี่ยม เด็กต้องหยิบรูปสี่เหลี่ยมวางได้ถูกต้อง นอกจากนี้ให้เด็กแยกรูปร่าง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงรี ได้
- สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องสี แนะนำให้เด็กรู้จักสี เล่นสิ่งของเครื่องใช้ บล็อก แผ่นกระดาษรูปทรงเรขาคณิตที่มีสีต่าง ๆ โดยเฉพาะเด็กชอบสีสดใส ให้เด็กแยกสิ่งของ วัตถุ รูปภาพ ที่มีสีเหมือนกัน
- สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเนื้อผิวของวัตถุ ให้เด็กได้สำรวจสิ่งของใกล้ตัว ได้รับได้สัมผัสสิ่งของที่มีความอ่อน นุ่ม แข็ง หยาบ และบอกได้ว่าของแต่ละชิ้น มีลักษณะอย่างไร เช่น กระดาษทราบหยาบ สำลีนุ่ม ก้อนหินแข็ง ฯลฯ
1.2 สื่อเพื่อฝึกความคิดรวบยอด
อาจใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการจัดสิ่งแวดล้อม เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ ครูควรจัดสวนสัตว์จำลอง เล่านิทาน เชิดหุ่นเกี่ยวกับสัตว์ สนทนาซักถามเกี่ยวกับสัตว์ที่เด็กรู้จัก เปรียบเทียบลักษณะของสัตว์แต่ละชนิด วาด ปั้น ฉีก แปะ รูปร่างสัตว์ การจัดกิจกรรมความคิดรวบยอดเกี่ยวกับอาชีพ เกี่ยวกับสิ่งของ เครื่องใช้และบุคคลในสังคม ครูควรใช้สื่อสถานการณจำลอง เสริมให้เด็กเข้าใจได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น
การรู้จักตัวเลขมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ด้วยการใช้วิธีการให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง จัดวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดุมสีต่าง ๆ ฝาเบียร์ ดอกไม้ ใบไม้ ขวด บล็อก เป็นต้น
2. สื่อเพื่อพัฒนาทางด้านภาษา
การใช้สื่อพัฒนาการทางภาษาจะต้องคำนึงถึงพัฒนาการที่สำคัญของเด็กเล็กและต้องศึกษาว่าการรับฟังและการเข้าใจภาษาของเด็กว่าอยู่ระดับที่สามารถฟังและแยกเสียงต่าง ๆ ได้ เช่น เสียงสัตว์ เสียงดนตรีบางชนิด ฟังประโยคและข้อความสั้นและยาวพอสมควร เข้าใจคำจำกัดความ เข้าใจหน้าที่ของสิ่งต่าง ๆ แยกภาพตามหน้าที่ได้ เช่น สิ่งที่ใช้กินนอน หรือสิ่งที่อยู่ในบ้าน ในครัว เปรียบเทียบภาพเหมือนไม่เหมือนได้ อ่านรูปภาพ จำชื่อตัวเองและเพื่อนได้ เป็นต้น ดังนั้นครูเด็กเล็กจะต้องใช้สื่อประเภทวิธีการ สื่อประเภทวัสดุอุปกรณ์มาจัดกิจกรรมเสริมความพร้อมทางด้านภาษาให้เด็กได้พัฒนาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น สื่อที่ครูควรจัดเพื่อเสริมพัฒนาการทางภาษา ได้แก่ หนังสือภาพ แผ่นภาพ ภาพประกอบคำคล้องจอง หุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ หุ่นเชิด หุ่นถุงกระดาษ เกมเลียนเสียงสัตว์ เกมสัมพันธ์ภาพกับคำ เกมเรียนรู้ด้านการฟัง เกมทายเรื่อง เกมจับคู่ภาพเหมือนและแยกภาพต่าง ๆ การเล่นนิ้วมือประกอบคำร้องหรือเรื่องราว วิธีการเล่นบทบาทสมมุติ มุมบล็อคต่าง ๆ ให้เล่นเป็นกลุ่มในมุมบ้าน เทป วิทยุ เครื่องเสียง
3. สื่อเพื่อพัฒนาความพร้อมกล้ามเนื้อเล็กใหญ่ และประสาทสัมพันธ์
 ครูจะต้องศึกษาพัฒนาเกี่ยวกับการทรงตัว ความมั่นคงของการใช้กล้ามเนื้อตามวัย เพื่อจะเลือกใช้สื่อได้เหมาะ สื่อประเภทวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ครูสามารถเลือกใช้ได้มีดังนี้
- ลูกบอล ดนตรี กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ ตีขณะที่ให้เด็กยืนทรงตัว เพื่อให้เกิด
  ความว่องไวในการบังคับกล้ามเนื้อ
- ลูกบอล ตุ๊กตาผ้า ลูกตุ้มทำด้วยฟางข้าว หรือผ้าสำหรับแข่งขว้างไกล ๆ
- รองเท้า เชือกผูกรองเท้า กระดุม ซิป สำหรับฝึกการบังคับกล้ามเนื้อมือ
   และฝึกสายตา
- แผ่นภาพ รูปภาพ สิ่งของ นำมาแขวนจัดเรียงกันให้เด็กมองกรอกสายตา
  ตามภาพหรือของที่วางไว้ขีดเส้นใต้เติมตามเส้นคดเคี้ยว
- แผ่นภาพขีดเป็นช่องสำหรับใช้นิ้วลากตามเส้นทางที่ครูกำหนด ดิน
  เหนียวให้เด็กใช้ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ อุปกรณ์วาดภาพ สีไม้ สีเทียน สีดินสอ
  สีจากพืช
- ฉีกกระดาษปะเป็นรูปต่าง ๆ ขยำกระดาษหนังสือพิมพ์ ร้อยดอกไม้ เล่น
  ตัดเมล็ดพืช เป่าสีด้วยหลอดกาแฟ ต่อภาพแบบโยนโบว์ลิ่ง ตวงทราย
  กรอกน้ำใส่ขวด เรียงลูกคิดลงหลัก วางแผ่นรูปทรงลงในช่องที่กำหนด
- เดินกระดานแผ่นเดียว เล่นภาพตัดต่อ เล่นเครื่องเล่นสนาม ยิงปืนก้าน
  กล้วย ร้อยเชือกรอบแผ่นภาพ ฝึกประสาทสัมพันธ์
  สื่อดังกล่าวนี้มักจะถูกเลือกมาใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งอาจมีการใช้ครั้งละชนิดหรือใช้พร้อมกันเกินกว่าหนึ่งชนิด หรือใช้ตามลำดับก่อนหลังก็ได้

สรุป
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ช่วยกระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู้เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์  เป็นต้น
2. ประเภทวัสดุ เช่น เครื่องฉายสไลด์ หนังสือเรียน หรือตำราเรียน เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิควิธีการ เช่น การจัดกิจกรรม โปรมแกรมการเรียนรู้ เป็นต้น
อ้างอิง
วาสนา  ชาวหา (๒๕๒๕).เทคโนโลยีทางการศึกษา.กราฟฟิคอาร์ต; กรุงเทพฯ
สมบูรณ์  สงวนญาติ (๒๕๓๔).เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.การศาสนา; กรุงเทพฯ
แหล่งที่มา: http://www.learners.in.th/blog/whiteorcid2/300337. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554


7/26/2554

2. ความหมายของนวัตกรรม

          ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521: 14) กล่าวไว้ว่านวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
                บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542: 12) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
                วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (http://th.wikipedia.org/wiki) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีบทนี้ว่า นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม
                สรุป
                นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้
                อ้างอิง
                ไชยยศ  เรืองสุวรรณ.(๒๕๒๑).เทคโนโลยีการศึกษา.โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์ ;กรุงเทพฯ
                บุญเกื้อ  ควรเวหา.(๒๕๓๐).นวัตกรรมการศึกษา.SR Printing ; กรุงเทพฯ
                แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554

3. ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา

                บุญเกื้อ ครวญหาเวช (2543:5) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิด หรือ การกระทำ รวมทั้ง สิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่ง
                 สมบูรณ์  สงวนญาติ (2534:14) กล่าวไว้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิม โดยอาจได้มาจากการค้นพบวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  เลิศชาย  ปานมุข (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้ วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
                  สรุป
                  นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปความคิด การกระทำ หรือทฤษฏีทางการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                  อ้างอิง
                  บุญเกื้อ  ควรเวหา (๒๕๓๐).นวัตกรรมการศึกษา.SR Printing; กรุงเทพฯ
                  สมบูรณ์  สงวนญาติ (๒๕๓๔).เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรมศาสนา ; กรุงเทพฯ
                  แหล่งที่มา : http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554

4. ความหมายของเทคโนโลยี

                   วาสนา  ชาวหา (2525:2) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค ความรู้และระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                        สังวาล  แสงไทรย์ และคณะ (2550:2) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์พัฒนาขึ้นเพื่อหวังผลในทางปฏิบัติ การประยุกต์เพื่อการปฏิบัติต้องอาศัยบูรณาการระหว่างความรู้ด้านเทคโนโลยี กับความรู้ทางด้านวิศวกรรม การทุ่มเท การวิจัย และการพัฒนาศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อนำผลลัพธ์มาสร้างประโยชน์สูงสุดแก่มนุษยชาติ เป็นการนำความรู้ทางเทคโนโลยีมาสร้างคุณค่าและการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามกาลเวลาและสถานการณ์
                เหงิน (http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
                สรุป
                การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค ความรู้และระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์และพัฒนาขึ้นเพื่อหวังผลในทางปฏิบัติ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                อ้างอิง
                วาสนา  ชาวหา (๒๕๒๕).เทคโนโลยีทางการศึกษา.กราฟฟิคอาร์ต ; กรุงเทพฯ
                สังวาล  แสงไทรย์ และคณะ(๒๕๕๐).วิทยาศาสตร์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต.สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ; กรุงเทพฯ
               
แหล่งที่มา: http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554

5. ความหมาย ลักษณะสำคัญ และบทบาทในการศึกษาของเทคโนโลยีสารสนเทศ

            สหชาติ  สรรพคุณ (2550:2) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น 
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ช่วยในการจัดการระบบข้อมูลหรือข่าวสาร ในแต่ละวันที่มีจำนวนมหาศาลได้
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในขบวนการผลิตสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณที่ยุ่งยากและซับซ้อน หรือการจัดเรียงระบบสารสนเทศ
3. ช่วยให้สามารถจัดเก็บสารสนเทศไว้ในสื่อและวิธีการ ที่สามารถเรียกใช้ได้สะดวก
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอย่างอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และสืบค้นหรือเรียกใช้สารสนเทศได้เป็นอย่างดี
5. ช่วยให้เข้าถึงการตอบสนองการใช้สารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้ในทุกระดับได้อย่างรวดเร็ว
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างบทเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนนอกเวลาเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ของการศึกษามากยิ่งขึ้น
2. การศึกษาทางไกล เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการจัดรูปแบบการศึกษาทางไกล โดยผู้เรียนกับผู้สอนสามารถสื่อสารกันได้ทันที
3. เครือข่ายการศึกษา เป็นการแบ่งเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างกว้างไกล
4. การใช้งานห้องสมุด โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสืบค้นหารายการหนังสือ และบริการยืม-คืนหนังสือได้
5. การใช้ห้องปฏิบัติการและการใช้ในงานบริการ
                 (http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
· เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
· เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
· เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
· เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น     
(http://blog.eduzones.com/kittipung/33214) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา ที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
1.    ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2.    ช่วยในการวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร และการบริการ
3.    ช่วยในการทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
4.    ช่วยในการจัดเก็บระบบฐานข้อมูลการศึกษา 


สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.  เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2.  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เข้าถึงการตอบสนองการใช้สารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
4.   เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
5.  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้ในทุกระดับได้อย่างรวดเร็ว
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างบทเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนนอกเวลาเรียนได้
2. การศึกษาทางไกล เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการจัดรูปแบบการศึกษาทางไกล โดยผู้เรียนกับผู้สอนสามารถสื่อสารกันได้ทันที
3. การใช้งานห้องสมุดและห้องปฏิบัติการต่างๆ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสืบค้นหารายการหนังสือ และบริการยืม-คืนหนังสือได้
4. การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร และระบบการบริการ
5. การจัดเก็บระบบฐานข้อมูลการศึกษา
  อ้างอิง
                สหชาติ  สรรพคุณ.(๒๕๕๐).เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; กรุงเทพฯ
                แหล่งที่มา : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554
                แหล่งที่มา : http://blog.eduzones.com/kittipung/33214.เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554