ณัชชากัญญ์ วิรัตนชันวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีบทนี้ว่า "นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา"
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 (http://dontong52.blogspot.com) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีบทนี้ว่า"นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาได้โดยการฝึก นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline ) นักคิด คือ เซนต์ออกุสติน จอห์น คาลวิน และคริสเตียน โวล์ฟ นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อเรื่อง
1.1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว การกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดมาจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (Bad-active)
1.2) มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
1.3) สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
1.4) การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
1.5) การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติร ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น
2. ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญ คือ พลาโต และอริสโตเติล นักคิดกลุ่มนี้เชื่อ
2.1) พัฒนาการเป็นเรื่องของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลมา
2.2) มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดี ไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
2.3) มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
2.4) มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา"
1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline ) นักคิด คือ เซนต์ออกุสติน จอห์น คาลวิน และคริสเตียน โวล์ฟ นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อเรื่อง
1.1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว การกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดมาจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (Bad-active)
1.2) มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
1.3) สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
1.4) การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
1.5) การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติร ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น
2. ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญ คือ พลาโต และอริสโตเติล นักคิดกลุ่มนี้เชื่อ
2.1) พัฒนาการเป็นเรื่องของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลมา
2.2) มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดี ไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
2.3) มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
2.4) มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา"
ศน.หลักสูตรและการสอน(http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีบทนี้ว่า "นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี "
สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) คือ จิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
อ้างอิง
แหล่งที่มา : http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 .เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554
แหล่งที่มา : http://dontong52.blogspot.com .เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554
แหล่งที่มา : http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7.เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554